วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

ของฝากและของที่ระลึกจังหวัดยโสธร

ข้าวหอมมะลิ 
                         
             ข้าวหอมมะลิ คุณภาพดีซึ่งเป็นที่นิยม


แตงโม

                        

                 นอกเหนือจากข้าวหอมมะลิ คุณภาพดีซึ่งเป็นที่นิยมแล้ว เกษตรกรหลายอำเภอของยโสธร ยังปลูกแตงโมเป็นอาชีพเสริม แตงโมหวานยโสธร มีคุณภาพดีเป็นที่นิยมของผู้บริโภค มีผลผลิตมากที่สุดอยู่ระหว่างเดือนกันยายน - เดือนตุลาคม

หมอนขวานผ้าขิด

                        

  ผลิตกันมากที่บ้านศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว เป็นหัตถกรรมของอีสานที่มีเอกลักษณ์และคุณค่าด้านประโยชน์ใช้สอย ได้รับความนิยมทั่วไป เป็นของใช้ของฝากที่มีชื่อของยโสธร ทำจากผ้าทอลายขิด ซึ่งเป็นผ้าทอพื้นเมืองของภาคอีสาน มีลวดลาย รูปแบบหลากหลาย และสีสันสดใสสวยงาม

ปลาส้ม

                   


            ปลาส้มเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโปรตีนสูง และสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน ปลาส้มเป็นอาหารพื้นบ้านของไทยอิสาน สิ่งลื่อชื่อของชาวยโสธร เป็นอาหารที่ทำจากปลา สามารถนำมาทำได้หลายเมนู ตามแต่ความอบของแต่ละคน ราคาไม่แพง



ลอดช่อง

                       

                 ขนมลอดช่องโบราณที่มาแต่ยาวนานและเป็นของขึ้นชื่อของจังหวัดยโสธร เป็นขนมหวานที่แสนอร่อย ใส่น้ำเชื่อม กระทิ และชอบเย็นๆก็โรยด้วยน้ำแข็งใส หวานเย็นชื่นใ


งานจักรสานไม้ไผ่

                        

                งานจักสานฝีมือดีชาวบ้านทุ่งนางโอกมีผลิตภัณฑ์จากงานจักสานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกระติบข้าว ตระกร้าใส่ของ หมวก ของใช้ในครัวเรือนต่างๆ อีกมากมาย ราคาไม่แพง


งานแกะสลักเกวียนจำลอง

                        

                 ที่บ้านนาสไมย์ อ.เมือง จ.ยโสธร




            อ้างอิง  http://www.yasothon.go.th/web/file/menu6.html

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประเพณีบุญบั้งไฟอำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร


บุญบั้งไฟอำเภอกุดชุมอำเภอกุดชุม
ประเพณีบุญบั้งไฟอำเภอกุดชุม ปี 2557

        วันที่ 7 มิถุนายน 2557 แอดมินได้มีโอกาสบันทึกภาพแห่งความประทับใจ ...ม่วนซื่นโฮแซว : บรรยากาศ...ประเพณีบุญบั้งไฟอำเภอกุดชุม ปี 2557 สนุกสนาน ประทับใจ ท่ามกลางเปลวแดด

ประเพณีบุญบั้งไฟอำเภอกุดชุม ปี 2557

           
  ประเพณีบุญบั้งไฟ 
ประเพณีบุญบั้งไฟ
                                                                                               http://hilight.kapook.com/view/101828

        ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นหนึ่งในฮีตสิบสองเดือนของชาวอีสาน นิยมทำกันในเดือน 6 หรือเดือน 7 อันเป็นช่วงฤดูฝนเข้าสู่การทำนา ตกกล้า หว่าน ไถ เพื่อเป็นการบูชาเทพยดาอารักษ์หลักบ้านหลักเมืองและบูชาพญาแถนขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล โดยมีความเชื่อว่าเมื่อจัดงานนี้แล้วเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจะดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์

ความหมายของบั้งไฟ
        คำว่า "บั้งไฟ" ในภาษาถิ่นอีสานมักจะสับสนกับคำว่า "บ้องไฟ" แต่ที่ถูกนั้นควรเรียกว่า "บั้งไฟ" โดยทั้ง 2 คำมีความแตกต่างกันดังนี้
        คำว่า บ้อง หมายถึง สิ่งของใด ๆ ก็ได้ที่มี 2 ชิ้น มาสวมหรือประกอบเข้ากันได้ ส่วนนอกเรียกว่า บ้อง ส่วนในหรือสิ่งที่เอาไปสอดใส่จะเป็นสิ่งใดก็ได้ เช่น บ้องมีด บ้องขวาน บ้องเสียม บ้องวัว บ้องควาย ดังนั้น คำว่า บั้งไฟ ในภาษาถิ่นอีสานจึงเรียกว่า บั้งไฟ ซึ่งหมายถึงดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง มีหางยาวเอาดินประสิวมาคั่วกับถ่านไม้ตำให้เข้ากันจนละเอียดเรียกว่า หมื่อ (ดินปืน) และเอาหมื่อนั้นใส่กระบอกไม้ไผ่ตำให้แน่นเจาะรูตอนท้ายของบั้งไฟ เอาไผ่ท่อนอื่นมัดติดกับกระบอกให้ใส่หมื่อโดยรอบ เอาไม้ไผ่ยาวลำหนึ่งมามัดประกบต่อออกไปเป็นหางยาว สำหรับใช้ถ่วงหัวให้สมดุลกัน เรียกว่า "บั้งไฟ"
       ส่วนคำว่า บั้งไฟ คือการนำเอากระบอกไม้ไผ่ เลาเหล็ก ท่อเอสลอน หรือเลาไม้อย่างใดอย่างหนึ่งมาบรรจุหมื่อ (ดินปืน) ตามอัตราส่วนที่ช่างกำหนดไว้แล้วประกอบท่อนหัวและท่อนหางเป็นรูปต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เพื่อนำไปจุดพุ่งขึ้นสู่อากาศ จะมีควันและเสียงดัง บั้งไฟมีหลายประเภท ตามจุดมุ่งหมายของประโยชน์ในการใช้สอย

 ประวัติความเป็นมาประเพณีบุญบั้งไฟ
        ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทางพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึงการที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชาพระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้
ตำนานเรื่อง พญาคันคากกับพญาแถน
         ตามตำนานพญาแถน เทพผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ผู้ดลบันดาลให้ฝนตก เกิดไม่พอใจชาวโลกจึงบันดาลให้ฝนไม่ตกเลยตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ชาวเมืองทนไม่ไหวจึงคิดทำสงครามกับพญาแถน แต่สู้พญาแถนกับกองทัพเทวดาไม่ได้ ถูกไล่ล่าหนีมาถึงต้นไม้ใหญ่ที่พระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นพญาคันคาก (คางคก) อาศัยอยู่ และพญาคันคากตกลงใจเป็นจอมทัพของชาวโลกต่อสู้กับพญาแถน พญาคันคากให้พญาปลวกก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงสวรรค์ ให้พญามอดไม้ไปทำลายด้ามอาวุธของทหารและอาวุธพญาแถน และให้พญาผึ้ง ต่อ แตนไปต่อยทหารและพญาแถนฝ่ายเทวดาพ่ายแพ้ พญาแถนจึงให้คำมั่นว่า หากมนุษย์ยิงบั้งไฟขึ้นไปเตือนเมื่อไรจะรีบบันดาลให้ฝนตกลงมาให้ทันทีและถ้ากบเขียดร้องก็ถือเป็นสัญญาณว่าฝนได้ตกลงถึงพื้นแล้ว และเมื่อใดที่ชาวเมืองเล่นว่าวก็เป็นสัญญาณแห่งการหมดสิ้นฤดูฝน

ตำนานเรื่องท้าวผาแดงนางไอ่
        นางไอ่เป็นธิดาพระยาขอมผู้ครองเมืองชะธีตา นางไอ่เป็นสตรีที่มีสิริโฉมงดงามเป็นที่เลื่องลือไปในนครต่าง ๆ ทั้งโลกมนุษย์และบาดาล มีชายหนุ่มหมายปองจะได้อภิเษกกับนางมากมาย ในจำนวนผู้ที่มาหลงรักนางไอ่ มีท้าวผาแดงและท้าวพังคี โอรสสุทโธนาค เจ้าผู้ครองนครบาดาล ท้าวทั้งสองต่างเคยมีความผูกพันกับนางไอ่มาแต่อดีตชาติ จึงต่างช่วงชิงจะได้เคียงคู่กับนาง แต่ก็พลาดหวัง จึงมิได้อภิเษกทั้งคู่เพราะแข่งขันบั้งไฟแพ้
        ท้าวพังคีนาคไม่ยอมลดละ แปลงกายเป็นกระรอกเผือกคอยติดตามนางไอ่ สุดท้ายถูกฆ่าตาย พญานาคผู้เป็นพ่อจึงขึ้นมาถล่มเมืองล่มไป กลายเป็นหนองน้ำใหญ่ คือ หนองหาน หนองหานในตำนานท้าวผาแดงนางไอ่ ที่เป็นที่ถกเถียงกันว่าที่ไหนกันแน่ มีอยู่ถึง 3 ที่ ได้แก่ หนองหาน ที่ อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และหนองหาน อำเภอกุมภวาปี ซึ่งก็ไม่ไกลจากที่แรกมากนัก และอีกที่หนึ่งก็คือหนองหาร จังหวัดสกลนคร
        ในตำราอ้างอิงถึงเรื่องผาแดงนางไอ่จบลงด้วยการเกิดเป็นหนองน้ำ ขนาดใหญ่จากการต่อสู้ของพญานาคกับท้าวผาแดง ต่างก็มีข้อมูลอ้างอิงถึง หนองน้ำที่ชื่อหนองหาน แต่กล่าวต่างกันไปในตำราแต่ละเล่มถึงหนองน้ำ ทั้ง 3 แห่ง

ประเพณีบุญบั้งไฟ
ความเชื่อของชาวบ้านกับประเพณีบุญบั้งไฟ
         ชาวบ้านเชื่อว่ามีโลกมนุษย์ โลกเทวดา และโลกเทวดา มนุษย์อยู่ใต้อิทธิพลของเทวดา การรำผีฟ้าเป็นตัวอย่างที่แสดงออกทางด้านการนับถือเทวดา และเรียกเทวดาว่า "แถน" เมื่อถือว่ามีแถนก็ถือว่า ฝน ฟ้า ลม เป็นอิทธิพลของแถน หากทำให้แถนโปรดปราน มนุษย์ก็จะมีความสุข ดังนั้นจึงมีพิธีบูชาแถน การจุดบั้งไฟก็อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงความเคารพหรือส่งสัญญาณความภักดีไปยังแถน ชาวอีสานจำนวนมากเชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นการขอฝนจากพญาแถน และมีนิทานปรัมปราเช่นนี้อยู่ทั่วไป แต่ความเชื่อนี้ยังไม่พบหลักฐานที่แน่นอน

 การจัดประเพณีบุญบั้งไฟ
         ก่อนจะถึงวันงานหรือวันเอาบุญ ชาวบ้านก็จะช่วยกันเตรียมงานกันอย่างสามัคคี ชาวบ้านที่ได้รับมอบหมายจะสร้างปะรำ หรือ "ผาม" หรือ "ตูบบุญ ฝ่ายแม่ครัวก็เตรียมข้าวปลาอาหารไว้เลี้ยงแขกเลี้ยงคน ฝ่ายช่างฟ้อนก็เตรียมขบวนรำไว้สำหรับแห่บั้งไฟ ฝ่ายผู้ชายที่เป็นช่างฝีมือก็ช่วยกันทำบั้งไฟและตกแต่งให้สวยงาม งานบุญบั้งไฟส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีพิธีกรรมทางศาสนาเท่าใดนักแต่บางแห่งก็มีพิธีทำบุญเลี้ยงพระบ้าง

          วันโฮม เป็นชาวบ้านก็จะมาตั้งขบวนเพื่อแห่บั้งไฟไปรอบ ๆ หมู่บ้าน เป็นงานบุญที่เน้นความสนุกสนานรื่นเริง ในขบวนจะมีการรำเซิ้งตามบั้งไฟ และบรรดาขี้เหล้าทั้งหลายก็จะร้องเพลงเซิ้งไปของเหล้าตามบ้านต่าง ๆ กาพย์เซิ้งอาจจะหยาบคายแต่ก็ไม่มีใครถือสากัน แต่กาพย์เซิ้งที่ใช้แห่ในขบวนมักจะเป็นประวัติและความเป็นมาของพิธีบุญบั้งไฟ

          วันจุดบั้งไฟก็อาจจะเป็นอีกวันหนึ่งคือเป็นวันที่ชาวบ้านจะเอาบั้งไฟของแต่ละคุ้มแต่ละหมู่บ้านมาจุดแข่งกัน ถ้าของใครทำมาดีจุดขึ้นได้สูงสุดก็จะชนะแต่ถ้าของใครแตกหรือซุก็ถือว่าแพ้ ต้องโดนลงโทษโดยการจับโยนลงโคลนหรือตมซึ่งเป็นที่สนุกสนานอย่างยิ่ง การจุดบั้งไฟเป็นการเสี่ยงทาย ถ้าบั้งไฟขึ้นสูง ก็ทำนายว่าฝนจะตกดี ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์

 ประเภทของบั้งไฟ
 ประเภทของบั้งไฟ บั้งไฟมี 2 ประเภท
          ประเภทที่ 1 ได้แก่ บั้งไฟที่ไม่มีหาง เช่นบั้งไฟพุ บั้งไฟพะเนียง บั้งไฟตะไล บั้งไฟดอกไม้ บั้งไฟโครงขาว บั้งไฟม้า
          ประเภทที่ 2 ได้แก่ บั้งไฟที่มีหาง ซึ่งแบ่งเป็น 4 หมวดหมู่ ดังนี้
1. บั้งไฟน้อย เป็นบั้งไฟที่มีขนาดเล็กบั้งไฟชนิดนี้ถูกนำมาใช้เพื่อเสี่ยงทายดูว่าฝนจะตกต้องตาม
ฤดูกาลหรือไม่ ถ้าหากว่าบั้งไฟถูกยิงขึ้นไปสูงสุดหมายถึงฝนจะดี
 2. บั้งไฟร้อย เป็นบั้งไฟที่บรรจุดินปืนน้อยกว่า 12 กิโลกรัม ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อการแข่งขัน
 3. บั้งไฟหมื่น เป็นบั้งไฟที่บรรจุดินปืนระหว่าง 12 119 กิโลกรัม
 4. บั้งไฟแสน เป็นบั้งไฟที่มีขนาดใหญ่ที่สุดซึ่งบรรจุดินปืน 120 กิโลกรัมการแห่บั้งไฟ
     นอกจากนี้ สามารถแบ่งประเภทของบั้งไฟได้เป็นแบบต่าง ๆ ดังนี้
 1. บั้งไฟโหวด
     บั้งไฟโบดหรือโหวดเป็นบั้งไฟขนาดเล็กตัวกระบอกจะยาวขึ้น ประมาณ 4-10 นิ้ว บรรจุหมื่อหนักประมาณ 1 ส่วน 8 ถึง 1 ส่วน 2 กิโลกรัม ใช้หางยาวประมาณ 1-4 เมตร มีกระบอกไม้ไผ่เล็ก ๆ มัดวางรอบตัวบั้งไฟ นิยมทำประกอบกันในบั้งไฟใหญ่ (บั้งไฟหมื่น, บั้งไฟแสน) ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมทำ เพราะไม่มีช่าง
2. บั้งไฟม้า
    บั้งไฟชนิดนี้เป็นบั้งไฟขนาดเล็กจุดไปตามทิศทางที่กำหนดใช้เส้นลวดเป็นวิถีตรึงไปยังเป้าหมายที่ต้องการ ลักษณะทั่วไปเป็นบั้งไฟที่ทำจากกระบอกไม้ไผ่ 1 ปล้อง ขนาดแล้วแต่ต้องการ โดยทั่วไปเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้ว ยาวประมาณ 1 ฟุตทางภาคกลางและภาคอีสานเรียกว่า “ลูกหนู” คล้ายม้าที่กำลังวิ่ง ถ้าติดรูปอะไรก็เรียกชื่อไปตามนั้น เป็นคนขี่ม้า รูปวัว แล้วแต่จะทำรูปอะไร บางครั้งภาคเหนือเรียกว่า บอกไฟยิง
 3. บั้งไฟช้าง
     บั้งไฟชนิดนี้ไม่มีหาง มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่ากระโพกหรือตะโพก เวลาจุดไม่ต้องการให้พุ่งขึ้นไปแต่ต้องการมีเสียงร้องคล้ายกับช้างร้อง วิธีทำบั้งไฟให้ใช้กระบอกไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดยาวเพียงป้องเดียวให้มีข้อปิดทั้ง 2 ด้าน ทุบไม้ไผ่ให้แตกเล็กน้อย เจาะรู เพื่อบรรจุหมื่อแล้วต่อชนวนเข้ารูแท่งหมื่อทำจากหมื่อถ่าน 3-4 อัดลงในไม้ไผ่ขนาดเล็กให้แน่น แล้วผ่าเอาแท่งหมื่อออกมาคล้ายข้าวหลาม ให้ได้แท่งประมาณ 3 นิ้ว การจุดนั้นนิยมต่อพ่วงชนวนบั้งไฟใหญ่ เวลาจุดชนวนผ่าจะเกิดเสียงดังเหมือนเสียงช้างร้อง นิยมวางต่อกันเป็นช่วง ๆ กระบอก ถ้าต้องการจะให้มีเสียงดังอย่างไรก็จะมีเทคนิคในการทำให้เกิดเสียงนั้น ๆ
  4. บั้งไฟแสน
      บั้งไฟชนิดนี้เป็นบั้งไฟขนาดใหญ่ที่สุด บรรจุดินปืนหนัก 120 กิโลกรัมขึ้นไป บั้งไฟขนาดนี้ทำยากที่สุดจะต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ เพราะบั้งไฟขนาดนี้หากแตกแล้วจะเป็นอันตรายมาก เพราะฉะนั้นก่อนทำบั้งไฟจะต้องมีพิธีกรรมบวงสรวงให้ถูกต้องตามหลักการทำบั้งไฟแสนเสียก่อนจึงจะลงมือทำ เมื่อตกบั้งไฟเสร็จเรียบร้อยแล้วจะมีการตกแต่งประดับประดาบั้งไฟ
 5. บั้งไฟตะไล
     บั้งไฟชนิดนี้ก็คือบั้งไฟจินายขนาดใหญ่นั่นเอง มีความยาวประมาณ 9-12 นิ้ว รูปร่างกลมมีไม้บาง ๆ แบน ๆ เป็นวงกลมครอบหัวท้ายบั้งไฟเมื่อพุ่งขึ้นสู่ฟ้าไปโดยทางขวาง
 6. บั้งไฟตื้อ
     บั้งไฟตื้อหรือบั้งไฟกระแตนั่งตอ เป็นบั้งไฟขนาดเล็กมีหางสั้น วิธีทำ ตัดกระบอกไม้ไผ่ขนาด 1 นิ้วครึ่งยาวประมาณ 3 นิ้ว อัดหมื่อให้แน่นประมาณ 2 นิ้ว ใช้หมื่อถ่านสามหรือถ่านสี่อัดด้วยเถียดไม้ให้แน่น ต่อหางซึ่งทำจากไม้ไผ่ เหลาเป็นแท่งเล็กๆ ใช้เลื่อยตัดมุมข้อออกจนเห็นหมื่อ เจาะให้เป็นรูเล็ก ๆ แล้วติดชนวน เวลาจะจุดเอาหางเสียบลงในแท่นที่ตั้งพอให้ตั้งได้ จุดชนวนจากด้านบน บั้งไฟจะพุ่งและหมุนขึ้นสู่อากาศ เกิดเสียงดังตือ ๆ เวลาหมุนจะไม่ค่อยมีทิศทาง ใช้จุดในงานศพ เวลาจุดมีอันตรายมากไม่ค่อยนิยมทำกัน
 7. บั้งไฟพลุ
     บั้งไฟพลุ เป็นบั้งไฟที่นิยมจุดในเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานกฐิน งานบุญมหาชาติ หรือ งานเปิดกีฬา ฯลฯ เป็นบั้งไฟที่จุดแล้วทำให้เกิดเสียงดัง ในอดีตนิยมจุดในงานกฐิน เพื่อเป็นการบอกข่าวไปยังพี่น้องประชาชนทั่วไปให้ทราบ

การทำบั้งไฟ
         ในสมัยก่อนการทำบั้งไฟจะใช้ไม้ไผ่ลำขนาดใหญ่ที่สุด ทะลวงปล้องให้ถึงกัน ภายนอกจะใช้ตอกไม้ไผ่ถักเป็นเชือกมัดรอบลำไผ่ให้แน่นเพื่อไม่ให้ลำไผ่แตก ส่วนหัวปล้องสุดท้ายจะถูกอุดด้วยแผ่นไม้หนาพอควร แล้วทำการอัดบรรจุหมื่อ (ดินปืน) ให้แน่นด้วยการตำ หรือใช้คานดีดคานงัด (ในปัจจุบันใช้แม่แรงยกล้อรถบรรทุกแทนสะดวกกว่ากันดังภาพซ้ายมือ) ยุคสมัยเปลี่ยนไปจากลำไผ่กลายมาเป็นท่อเหล็กหรือท่อประปา (ซึ่งอันตรายมากเมื่อมีการระเบิดใส่ผู้คนอย่างที่เป็นข่าว) ตอนหลังหันมาใช้ท่อพีวีซีแทนซึ่งก็ยังเป็นอันตรายอยู่ดี จากการบูชาแถนมาเป็นการพนันขันต่อเพื่อการเดิมพัน จำนวนบั้งไฟที่จุดในแต่ละที่จึงมีจำนวนมาก และสร้างความเสียหายต่อชุมชนในทิศที่บั้งไฟถูกจุดออกไป (เพราะสามารถไปไกลได้หลายสิบกิโลเมตร)

ส่วนประกอบของบั้งไฟ
          1. เลาบั้งไฟ เลาบั้งไฟคือส่วนประกอบที่ทำหน้าที่บรรจุดินปืน มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกกลมยาว มีความยาวประมาณ 1.5-7 เมตร ทำด้วยลำไม้ไผ่เเล้วใช้รั้วไม้ไผ่ (ตอก) ปิดเป็นเกลียวเชือกพันรอบเลาบั้งไฟอีกครั้งหนึ่งให้แน่น และใช้ดินปืนที่ชาวบ้านเรียกว่า"หมื่อ" อัดให้แน่นลงไปในเลาบั้งไฟ ด้วยวิธีใช้สากตำแล้วเจาะรูสายชนวน เสร็จแล้วนำเลาบั้งไฟ ไปมัดเข้ากับส่วนหางบั้งไฟ ในสมัยต่อมานิยมนำวัสดุอื่นมาใช้เป็นเลาบั้งไฟแทนไม้ไผ่ ได้แก่ ท่อเหล็ก ท่อพลาสติก เป็นต้น เรียกว่าเลาเหล็กซึ่งสามารถอัดดินปืนได้แน่นและมีประสิทธิภาพในการยิงได้สูงกว่า
          2. หางบั้งไฟ หางบั้งไฟถือเป็นส่วนสำคัญทำหน้าที่คล้ายหางเสือ ของเรือคือสร้างความสมดุลให้กับบั้งไฟคอยบังคับทิศทางบั้งไฟให้ยิงขึ้นไปในทิศทางตรงและสูง บั้งไฟแบบเดิมนั้น ทำจากไม้ไผ่ทั้งลำ ต่อมาพัฒนาเป็นหางท่อนเหล็กและหางท่อนไม้ไผ่ติดกันหางท่อนเหล็กมีลักษณะเป็นท่อนกลม ทรงกระบอกมีความยาวประมาณ 8-12 เมตร ทำหน้าที่เป็นคานงัดยกลำตัวบั้งไฟชูโด่งชี้เอียงไปข้างหน้าทำมุมประมาณ 30-40 องศากับพื้นดิน โดยบั้งไฟจะยื่นไปข้างหน้ายาวประมาณ 7-8 เมตร ปลายหางด้านหนึ่งตั้งอยู่บนฐานที่ตั้งบั้งไฟ
          3. ลูกบั้งไฟ เป็นลำไม้ไผ่ที่นำมาประกอบเลาบั้งไฟโดยมัดรอบลำบั้งไฟ บั้งไฟลำหนึ่งจะประกอบด้วยลูกบั้งไฟประมาณ 8-15 ลูก ขึ้นอยู่กับขนาดของบั้งไฟ เดิมลูกบั้งไฟมีแปดลูกมีชื่อเรียกเรียงตามลำดับคู่ขนาดใหญ่ไปหาคู่ที่มีขนาดเล็กกว่าได้แก่ ลูกโอ้ ลูกกลาง ลูกนางและลูกก้อย ลูกบั้งไฟช่วยให้รูปทรงของบั้งไฟกลมเรียวสวยงาม นอกจากนี้ลูกบั้งไฟยังเป็นพื้นผิวรองรับการเอ้หรือการตกแต่งลวดลายปะติดกระดาษ

ประเพณีบุญบั้งไฟ
ประเพณีบุญบั้งไฟยโสธร
         จังหวัดหนึ่งในภาคอีสานที่จัดงานบุญบั้งไฟจนกลายเป็นงานประเพณีระดับชาติคือ จังหวัดยโสธร โดยได้จัดเทศกาลงานประเพณีบุญบั้งไฟ ณ สวนสาธารณะพญาแถน ในช่วงอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมก่อนที่จะถึงฤดูลงมือทำนา
         โดยงานนี้ได้รับความสนใจอย่างมากเนื่องจากบุญบั้งไฟของชาวยโสธรเป็นบุญบั้งไฟนานาชาติโดยมีบั้งไฟจากประเทศญี่ปุ่น และประเทศเพื่อนบ้านมาร่วมงานทุกปี ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก และดึงดูดชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวชมจำนวนมาก มีการประกวดแห่เซิ้งบั้งไฟ บั้งไฟสวยงาม ประกวดกองเชียร์ การประกวดธิดาบั้งไฟโก้ ฯลฯ ซึ่งตลอดสัปดาห์ที่มีงานประเพณีดังกล่าวจังหวัดยโสธรในเวลาค่ำคืนจะไม่เงียบสงัดเหมือนทุกเดือนที่ผ่านมา เพราะจะได้ยินแต่เสียงกลองตุ้ม ผ่าง ผสานเสียงกับการขับขานกลอนเซิ้ง ที่บอกเล่าถึงตำนานบั้งไฟด้วยจังหวะแบบพื้นเมือง

          ประเพณีบุญบั้งไฟเรียกได้ว่าเป็นประเพณีที่มีการสืบทอดมาอย่างยาวนานทีเดียว อ๊ะ ๆ ... แต่สำหรับผู้ที่จะไปร่วมงานบุญบั้งไฟก็ระมัดระวังอุบัติเหตุกันด้วยนะจ๊ะ


สถานที่ท่องเที่ยว


            ภูหินปูน 


ชื่อแหล่งท่องเที่ยว :                 ภูหินปูน
ประเภทสถานที่ท่องเที่ยว :     ธรรมชาติและสัตว์ป่า
สถานที่ตั้ง :                             ม.16 6.กุดชุม
รายละเอียด :    ภูหินปูน อยู่ในเขตบ้านนามน ตำบลกุดชุม ซึ่งเป็นภูเขาทอดยาวมาจากอำเภอเลิง               นกทา มีจุดเด่นคือประติมากรรมหินทรายธรรมชาติรูปทรงต่าง ๆ นับได้ว่าเป็นแหล่งศึกษาระบบนิเวศวิทยาในท้องถิ่น และเป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์พุทธสถานภูหินปูน
          ตั้งอยู่ห่างจากภูหมากพริกไปทางทิศใต้ประมาณ 3 กิโลเมตรเป็นที่ตั้งของวัดภูหินปูนที่มีศาลาการเปรียญ ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดยโสธรตลอดจนมีโขดหินรูปแปลก ๆ จำนวนมากตั้งตระหง่านอยู่เหนือบริเวณลานหินกว้าง ด้านหน้าของวัด โขดหินที่พบ มีรูปร่างที่สามารถจินตนาการไปได้ต่าง ๆ นานา ๆ เป็น รูปเต่า รูปไดโนเสาร์ รูปจรเข้า และมีรอยคล้ายรอยไดโนเสาร์ บนโขดหิดและลานหิน เป็นจำวนมากกำลังรอการพิสูจน์จากนักท่องเที่ยวที่มาเยือน ทางด้านบนของวัด ขึ้นไปอีกประมาณ 700 เมตร เป็นที่ตั้งของลานพุทธธรรม และลานไทร ตลอดจนโขดหินขนาดใหญ่ที่ยื่นออกไปกลางหน้าผาที่มีความสูงเท่ากับยอดไม้ เหมาะสำหรับชมทัศนียภาพด้านล่างและเก็บภาพที่สวยงามบริเวณชะง่อนผา และอีกด้านหนึ่งเป็นศาลาที่พักขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับการพักในการปฏิบัติธรรมวิปัสสนากลุ่มใหญ่ และ ด้านขวาของศาลาต่ำลงไปเป็นถ้ำที่ใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ จำนวนหลายองค์ เหมาะแก่การไปนมัสการ
การเดินทาง :   ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑๖ บ้านนามน ตำบลกุดชุม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร


ภูหมากพริก




        ภูหมากพริก  เป็นเขตของบ้านทองสัมฤทธิ์ อำเภอกุดชุม อยู่ห่างจากภูหินปูน ประมาณ 8 กิโลเมตร 
        ลักษณะเป็นภูเขาที่มีความอุดมสมบูรณ์ เเละเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่าหายากในท้องถิ่น
โดยเฉพาะ ปูแป้ง ที่มีกระดองสีม่วง ลำตัวเเละขาสีส้ม อาศัยอยู่ตามซอกหินริมห้วย
        ทั้งนี้ยังมี  อ่างปลากั้ง จั่นกอบง ซึ้งเป็นเเหล่งน้ำตามธรรมชาติ
        นอกจากนี้ยังมีต้นจันทร์ผา ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ใกล้บริเวณถ้ำในช่วงฤดูปลายฝนต้นหนาว เป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการการท่องเที่ยวแบบเดินป่าของนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการผจญภัยและการเดินป่าเพื่อชมธรรมชาติอันบริสุทธิ์ ภูหมากพริก เป็นตำนานของคนรักป่าอีกตำนานหนึ่งที่ชวนให้นักท่องเที่ยวที่หลงใหลการเดินป่ามาสัมผัส ที่มาของชื่อ ภูหมากพริกในสมัยก่อนเคยมีต้นพริกขนาดใหญ่ขึ้นที่บริเวณ ภูดังกล่าวจนชาวบ้านเรียกว่าภูหมากพริก เป็นแหล่งกำเนิดสมุนไพรสายพันธุ์ต่าง ๆ แหล่งเรียนรู้และเชื่อมโยง ประวัติศาสตร์ของความเป็นหินเก่าแก่ยุคไดโนเสาร์คือมีความคล้ายคลึงกับหินแถบจังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น บนเขามีลักษณะเป็นเขตร้อนมีความชุ่มชื้นทั้งปีมีน้ำซับบนภูเขาที่ไหลซึมตลอกปี สังเกตได้จากบนทางเดินจะปูลาดไปด้วยตระไคร่น้ำ ไลเคน ปกคลุมไปตลอดเส้นทาง ปรากฏถ้ำพระปูนปั้นที่มีอายุร่วมร้อยปีมาแล้ว ตลอดจนมีต้นสตอยักษ์ขนาด 3 คนโอบเด่นตระหง่านอยู่บนยอดภู และมีต้นจันผา หรือชาวบ้านเรียกว่า ต้นจันได เกิดขึ้นอู่ทั่วบริเวณ เป็นเขตดูแลพันธุ์สัตว์ป่า และดูนก เป็นที่อาศัยของหมูป่า และสัตว์ประเภทเก้ง เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวแบบผจญภัยเดินป่าเป็นอย่างยิ่งภูหมากพริกอยู่ห่างจากตัวอำเภอ 12 ก.ม. นักท่องเที่ยวที่จะไปเยือนควรเตรียมพร้อมร่างกายสำหรับการเดิน และควรติดน้ำดื่ม และสวมรองเท้าสำหรับเดินป่าเพื่อความคล่องตัว และที่สำคัญควรเตรียมเสบียงอาหารเนื่องจากบริเวณดังกล่าวยังบริสุทธิ์อยู่มาก เหมาะกับการชมพระอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้า
ในยามเช้าตรู่ เวลาพระอาทิตย์ขึ้นประมาณ 05.30 น. -05.45 น.
การเดินทางตั้งอยู่หมู่ที่ 15 บ้านทองสำฤทธิ์ ตำบลกุดชุม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร

ภูถ้ำสิม


ชื่อแหล่งท่องเที่ยว :                 ภูถ้ำสิม
ประเภทสถานที่ท่องเที่ยว :     สถานที่ศักดิ์สิทธิ์
สถานที่ตั้ง :                             บ้านทองสัมฤทธิ์
หมายเลขติดต่อสอบถาม :       045789213
latitude :           16.16
longitude :       104.31
รายละเอียด :    เป็นสถานที่ไหว้พระทำบุญ หรือท่านที่ประสงค์จะปฏิบัติธรรมทางวัดก็มีสถานที่ไว้ให้ ซึ่งร่มรื่นและสงบมาก อยู่บนยอดภูเขา
การเดินทาง :   จากตัวเมืองยโสธรมุ่งหน้าไปทางมุกดาหาร ประมาน 37 กิโลถึงอำเภอกุดชุม ผ่านหน้าที่ว่าการอำเภอกุดชุม ตรงไปอีกประมาน 5 กิโล ถึงทางโค้งบ้านเอราวัณ ให้เลี้ยวซ้าย ขับตรงไปตามถนนลาดยางประมาน 10 กิโลไป บ้านทองสัมฤทธิ์ ตรงไปประมาน 3 กิโลก็จะถึงภูถ้ำสิม

            อ่างเก็บน้ำกกกุง


ชื่อแหล่งท่องเที่ยว :                 อ่างเก็บน้ำกกกุง
ประเภทสถานที่ท่องเที่ยว :     ธรรมชาติและสัตว์ป่า
สถานที่ตั้ง :                             บ้านหนองแหน ม.1
หมายเลขติดต่อสอบถาม :       045-716047    
รายละเอียด :    อ่างเก็บน้ำล้อมรอบด้วยภูเขา ป่าไม้สมบูรณ์ เหมาะแก่การเที่ยวชมธรรมชาติ ตกปลา รับอากาศที่บริสุทธิ์
        ทั้งสองแห่งนี้ ตั้งอยู่ บ้านหนองแหน ตำบลหนองแหน อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธรภูทางเกวียนเป็นภูเขาที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของอำเภอกุดชุมอ่างกกกุงเป็นอ่างเก็บน้ำที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในยามหน้าแล้ง หนุ่มสาวสิพากันไปเล่นน้ำ แล้วกะหาบักหอยกัน(มีร้าน อาหารของคุณประหยัด สามารถ ขายอยู่ตรงนั่น น้าบ่าวเองนี่หละ ทุกมื่อนี่ยังขายอยู่บ่ดอก )
การเดินทาง :   ห่างจากตัวอำเภอกุดชุม ประมาณ 25 กิโลเมตร ตามถนนสาย กุดชุม -คำหัวคู แยกจากถนนสายหลัก ประมาณ 3 กิโลเมตร



แผนที่อำเภอกุดชุม


แผนที่อำเภอกุดชุม


Map of อำเภอ กุดชุม ยโสธร

ประวัติ อำเภอกุดชุม



  คำขวัญจังหวัด           เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ
  คำขวัญอำเภอ            พระใหญ่คู่บ้าน ศาลเจ้าพ่อคู่เมือง ลือเลื่องบุญบั้งไฟ สมุนไพรมากมี ข้าวดีปลอด                                       สารพิษ งานนิมิตภูทางเกวียน
  ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ    หมู่ที่ 8 ต.กุดชุด 35140
  หมายเลขโทรศัพท์     0-4578-9097-8
  หมายเลขโทรสาร       0-4578-9097

ข้อมูลทั่วไป
1.ประวัติความเป็นมา   ตั้งเป็นหมู่บ้าน พ.ศ.2455 ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ 1 ส.ค.2504 ยกฐานะเป็น    อำเภอ 17     ก.ค.2506
2.เนื้อที่/พื้นที่   544,000 ตร.กม.
3.สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป    แบบมรสุม มี 3 ฤดู ฤดูร้อน ฤดูหนาว ฤดูฝน

ข้อมูลการปกครอง
1.ตำบล.......9.... แห่ง   
3.เทศบาล..1.....แห่ง
2.หมู่บ้าน....128.... แห่ง         
4.อบต........9 ... แห่ง

 ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
1.อาชีพหลัก ได้แก่      1.  ทำนาปลูกข้าวนาปี
                                    2.  เลี้ยงสัตว์
                                    3.  ปลูกพืชไร่
2.อาชีพเสริม ได้แก่     1.  ค้าขาย
                                    2.  หัตถกรรมครัวเรือน
                                    
3.จำนวนธนาคาร มี 3 แห่ง ได้แก่
1.  ธนาคารกรุงไทย จำกัด    โทร. 0-4578-9113-4
2.  ธนาคารออมสิน               โทร. 0-4578-9077
3.  ธนาคาร ธกส.                  โทร. 0-45789--124-5
4.จำนวนห้างสรรพสินค้า     มี - แห่ง

ด้านสังคม
1.โรงเรียนมัธยม ได้แก่        1. โรงเรียนกุดชุมวิทยาคม  โทร.01-9661514
                                             2. โรงเรียนกำแมดขันติธรรม  โทร.09-8141178
                                             3. โรงเรียนโพนงามพิยาคาร  โทร.01-3902063
ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ
                                             1.  แหล่งน้ำ
                                             2.  ป่าไม้
                                             3.  ภูเขา 

 ด้านประชากร
1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น       รวม 65,843  คน
2.จำนวนประชากรชาย           รวม 33,129  คน
3.จำนวนประชากรหญิง          รวม 32,714 คน
4.ความหนาแน่นของประชากร 144 คน/ตร.กม.

ด้านการคมนาคม
 1.ทางบก        - รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  2169
                        - สถานีขนส่ง
                        - สถานีรถไฟ 
2.ทางน้ำ          - ท่าเรือขนส่งโดยสาร 
                        - ท่าแพขนานยนต์       
3.ทางอากาศ    - ท่าอากาศยาน            

 ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม
1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่    1.  ข้าว
                                                                 2.  มันสำปะหลัง
                                                                 3.  แตงโม
2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่
(แม่น้ำ/บึง/คลอง)                                     1.  ห้วยลำโพง
                                                                 2.  หลุมหนองนอ, อ่างกกกุง
3.โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่     1.  โรงสีพงษ์นิธิทิพย์ ที่ตั้ง ม.12 ต.กุดชุม อ.กุดชุมจ.ยโสธร
                                                                 2.  โรงสีกลุ่มเกษตรกรนาโส่  ที่ตั้ง ม.2 ต.นาโส อ.กุดชุม                                                                                 จ.ยโสธร
                                                                                                              วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 17/10/2008